ประวัติ กฏหมายปกครอง

     กฎหมายปกครองท้องถิ่น เป็นสาขาหนึ่งของกฎหมายมหาชน โดยกฎหมายมหาชนเป็นกฎหมายที่
รวบรวมหลักเกณฑ์ของความสัมพันธ์ระหว่างอำนาจรัฐ หรือระหว่างนิติบุคคลในกฎหมายมหาชนกับเอกชน สามารถแบ่งกฎหมายมหาชนได้เป็น 2 ประเภท คือ
     กฎหมายรัฐธรรมนูญและกฎหมายปกครองโดยรัฐธรรมนูญ มีวัตถุประสงค์คือ วางระเบียบการปกครองการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐและการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชนดังนั้นรัฐธรรมนูญจึงต้องมีการแบ่งแยกอำนาจซึ่งแบ่งได้ดังนี้
     - อำนาจนิติบัญญัติ
     - อำนาจบริหาร
     - อำนาจตุลาการ
สามอำนาจนี้เรียกว่า “ อำนาจอธิปไตย ”

ความหมาย กฏหมายปกครอง

     กฎหมายปกครอง หมายถึง กฎหมายที่วางหลักเกี่ยวกับการจัดระเบียบการปกครองรัฐในทางปกครองหรือที่เรียกว่า “การจัดระเบียบราชการบริหาร” รวมทั้งการวางระเบียบเกี่ยวกับกิจกรรมของฝ่ายปกครองที่เรียกว่า “บริการสาธารณะ” ซึ่งฝ่ายปกครองจัดทำเพื่อสนองความต้องการส่วนรวมของประชาชน เนื้อหาของกฎหมายปกครองแยกได้เป็น 3 ส่วน คือ
          - กฎหมายปกครองเป็นกฎหมายที่เกี่ยวกับการจัดองค์กรของรัฐและบุคลากรของรัฐในทางบริหาร
          - กฎหมายปกครองเป็นกฎหมายที่กำหนดให้องค์กรของรัฐหรือบุคลากรของรัฐมีอำนาจรัฐหรืออำนาจมหาชนที่จะกำหนดกฎเกณฑ์หรือออกคำสั่งให้เอกชนต้องปฏิบัติตามได้โดยไม่จำเป็นต้องอาศัยความสมัครใจหรือความยินยอมของเอกชนและกฎหมายปกครองยังเป็นกฎหมายที่กำหนดให้องค์กรของรัฐหรือบุคลากรของรัฐมีอำนาจรัฐหรืออำนาจมหาชนที่จะบังคับใช้กฎหมายให้เอกชนปฏิบัติตามกฎหมาย โดยไม่ต้องร้องต่อศาลให้บังคับให้
          - กฎหมายปกครองเป็นกฎหมายที่กำหนดเงื่อนไข หลักเกณฑ์และวิธีการในการใช้อำนาจโดยองค์กรของรัฐหรือบุคลากรของรัฐและเป็นกฎหมายที่กำหนดกฎเกณฑ์ในการที่ควบคุมการใช้อำนาจดังกล่าวซึ่งอาจ จะเป็นกฎหมายเฉพาะหรือกฎหมายที่กำหนดมาตรฐานกลาง

ที่มา กฏหมายปกครอง

     รัฐธรรมนูญลายลักษณ์อักษร ที่มาสูงสุดของกฎหมายปกครองท้องถิ่น รัฐธรรมนูญมีเนื้อหาสำคัญคือ มีการวางระเบียบการปกครองการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพและความเสมอภาคของประชาชนจึงไม่ได้บัญญัติเรื่องการปกครองท้องถิ่นไว้ ถึงแม้ว่าจะไม่เกี่ยวกับการใช้อำนาจอธิปไตยของรัฐแต่ก็เป็นพื้นฐานของการปกครองในระบอบประชาธิปไตยเพราะการปกครองท้องถิ่นต้องมาจากกระบวนการเลือกตั้งไม่ใช่การแต่งตั้ง ซึ่งแตกต่างจากการปกครองส่วนกลางหรือส่วนภูมิภาค การปกครองส่วนท้องถิ่นมีความเหมือนกับการปกครองในระดับประเทศ ประเทศที่มีการปกครองในระบอบประชาธิปไตยมักจะกำหนดหลักการปกครองตนเองของท้องถิ่นเอาไว้ในบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญของแต่ประเทศ เช่น
รัฐธรรมนูญของประเทศฝรั่งเศส, ประเทศเบลเยียม, ประเทศเดนมาร์ก, ประเทศนอร์เวย์,
ประเทศเนเธอร์แลนด์, ประเทศสวีเดน, ประเทศฟินแลนด์